วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กำหนดการ การจัดกิจกรรมของศูนย์จังหวัด เดือนกันยายน

รวมกำหนดการ การจัดกิจกรรมศุนย์คุ้มครองสิทธิในระดับจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ช่วงเดือน 1 กันยายน 52 - 30 กันยายน 52

ดาวน์โหลดเลย จ๊ะ

  1. กำหนดการเวทีทบทวนติดตามการทำงานคุ้มครองสิทธิ จังหวัดลำปาง 30-31 สิงหาคม 52 http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7c7a3b1b64268650ca5621d66e282a0ee8
  2. กำหนดการเวทีรถสาธารณะ จังหวัดพิจิตร 8 กันยายน 52 http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7cfe7507663120dbb65621d66e282a0ee8

เชิญดาวน์โหลด ข้อมูลใหม่ๆ ด้านคุ้มครองผู้บริโภค

ข้อมูลสำหรับการติดตาม ความก้าวหน้าการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค ดาวน์โหลดเลยครับ
  1. ทำไมต้องยกเลิกพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7c67ba06c4f4b8b2875621d66e282a0ee8
  2. อับเดทกองทุนสุขภาพตำบล http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7c96519ead891cf0595621d66e282a0ee8

หลักสูตรการอบรมคุ้มครองสิทธิด้านโทรคมนาคมสำหรับเยาวชน ภาคเหนือ

หลักสูตรการอบรมเยาวชน ภาคเหนือ
ที่ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่
ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาศักยภาพเยาวชน ในการอบรมเยาวชนในพื้นที่ภาคเหนือ ลองไปดูนะจะ
http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7ce65616a3ea1d4bc9c95965eaa7bc68bc

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลักการเสนอพระราชบัญญํติกองทุนสุนไหมทดแทนผูประสบภัยจากรถ พ.ศ.

หลักการและเหตุผลในการเสนอพระราชบัญญัติกองทุนสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. .
พรบ.รถ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นกฎหมายภาคบังคับกับเจ้าของรถทุกคนที่ต้องมีหน้าที่จ่ายเบี้ยประกัน โดยการบริหารจัดการของบริษัทประกันภัยเอกชนและผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับการคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาล รวมทั้งได้รับการชดเชยความเสียหายจากการทุพพลภาพหรือเสียชีวิต ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา จำนวนเบี้ยประกันภาคบังคับประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ถูกใช้ไปเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูงถึง ๔,๗๘๕ ล้านบาท ขณะที่ใช้ในการจ่ายสินไหมทดแทนกับผู้ประสบภัยจากรถเพียง ๔,๕๓๔ ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งสะท้อนปัญหาในการบริหารจัดการและประสิทธิภาพในการดำเนินการที่สร้างภาระให้กับผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันผู้ประสบภัยจากรถจำนวนมากกว่า ร้อยละ ๕๕.๓ ไม่ใช้สิทธิตามกฎหมายฉบับนี้ มีจำนวนเพียงร้อยละ ๔๒ เท่านั้นที่ใช้สิทธิและเกือบทุกคนที่ใช้สิทธิประสบปัญหาในการใช้สิทธิไม่ว่าจะเป็นการบ่ายเบี่ยงไม่จ่ายสินไหม การจ่ายเงินช้า เป็นภาระในการสำรองเงินจ่ายล่วงหน้า ซึ่งถูกพิสูจน์มานานกว่า ๑๗ ปี เนื่องจากพรบ.รถ เกิดขึ้นก่อนที่จะมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม หรือบัตรทอง ดังนั้นความคุ้มครองจากพรบ. รถ ด้านการรักษาพยาบาลจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะหลักเกณฑ์การใช้สิทธิมีการจำกัดเพดานวงเงินในการรักษาพยาบาล มักจะมีการผลักภาระมาที่ผู้ประสบภัยที่ต้องจ่ายเงินสำรอง และเป็นปัญหาในการล้มละลายของครอบครัวทั้ง ๆ ที่คนไทยทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงมีหลักการที่สำคัญ ในการยกเลิกภาระของผู้บริโภคในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ต้องจ่ายเงินเอง มีคณะกรรมการบริหารกองทุนที่มีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และมีสำนักงานที่เป็นอิสระบริหารกองทุนสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ใช้งบประมาณในการบริหารกองทุนไม่เกิน ๓-๕ เปอร์เซ็นต์ สนับสนุนกลไกรัฐในการต่อทะเบียนรถยนต์ในการเก็บเบี้ยประกัน รวมทั้งการจ่ายเงินสินไหมทดแทนไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด มีขั้นตอนที่ดี รวดเร็ว และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและอัตราการเก็บเบี้ยประกันในแต่ละปี ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องยกเลิกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคม อีกทั้งเป็นการผลักภาระให้ประชาชน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ลดความซ้ำซ้อนและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ลดภาระประชาชน และลดภาระความยุ่งยากในการเข้าถึงสิทธิของผู้ประสบภัย รวมทั้งประชาชนจะได้รับการคุ้มครองอย่างทั่วถึงและสามารถใช้สิทธิได้อย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติกองทุนสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ฉบับนี้

ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เนท ด้วยตัวท่านเอง

สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เล็งใช้มาตรการสังคม กำราบผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโฆษณาความเร็วเกินจริง จับมือสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เปิดโครงการ "สปีดเทสต์" (Speed Test) เก็บข้อมูลใช้บริการเน็ตผ่านเว็บไซต์ ปิดรับข้อมูล 30 พ.ย.52 นี้ ที่ http://www.speedtest.or.th/ หรือมีข้อร้องเรียนสามารถร้องเรียนเรื่องอินเตอร์เนทได้ผ่านศูนย์คุ้มครองสิทธ ในระดับจังหวัดในภาคเหนื ได้... (ข้อมูลจากhttp://www.tci.or.th/hotnews_show.asp?id=81)

สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
· 404 อาคารพลโยธินเซ็นเตอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสาแสนใน เขตพญาไทย กรุงเทพ 10400 โทรศัพท์ 02-279-0250 tci.service@hotmail.com

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่
· 374 หมู่บ้านเชียงใหม่แลนด์ ถนนช้างคลาน ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100 โทรศัพท์ 053-204439 มือถือ081-7163177 nok829@hotmail.com

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา
· 312/1ถ.พหลโยธิน ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา 56000 โทรศัพท์ 054-480905
มือถือ 084-1751680 mansada-p@hotmail.com

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำปาง
· 25 ถ.ศิริวิสาร ต.สวนดอก อ.เมือง จ.ลำปาง 52000 โทรศัพท์ 054-352393
มือถือ081-9871627 pam2516@gmail.com

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเพชรบูรณ์
· 69/43 ข้างสถานีขนส่งผู้โดยสาร ถนนกลางเมืองพัฒนา อำเภอเมือง จ.เพชรบูรณ์
มือถือ084-8175960 monk_2550@yahoo.co.th

ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดเชียงราย
· 434/4 หมู่ที่ 19 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57100 โทรศัพท์ 053-714685 มือถือ 084-0466548 anchalee126@hotmail.com

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคในการซื้อสินค้าหรือบริการ
ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้าหรือบริการ ได้แก่ การให้ความสำคัญฉลากของสินค้าและการโฆษณาสินค้าหรือบริการ
1.ผู้บริโภคต้องตรวจดูฉลากของสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบสินค้าแต่ละยี่ห้อ ก่อนตัดสินใจเลือกสินค้าฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากจะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
- ชื่อประเภท หรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจ ได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ในกรณีที่เป็นสินค้าสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
- สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายแล้วแต่กรณี - ต้องแสดงขนาดหรือมิติ หรือปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้านั้นแล้วแต่กรณี สำหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็มหรือชื่อย่อหรือสัญลักษณ์แทนก็ได้
- ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด
- ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค
- วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน วันเดือนปีที่ระบุนั้น เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถ้ามี) - ราคาโดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นก็ได้
2. สอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ คุณภาพของสินค้าจากผู้ขาย หรือผู้ที่เคยใช้สินค้านั้นแล้ว
3. ศึกษาเงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสินค้า เช่น วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ วิธีการใช้ การเก็บรักษา คำเตือนหรือข้อควรระวังของสินค้าให้เข้าใจอย่างท่องแท้ เพื่อผู้บริโภค สมารถใช้สินค้าได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ และ ประหยัด
4. ร้องขอให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพ และปริมาณของสินค้าว่าเป็นจริง ตามที่ระบุไว้ที่ฉลากของสินค้าหรือไม่ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและเป็นธรรม แก่ผู้บริโภค
5. ผู้บริโภคอย่าด่วนหลงเชื่อคำโฆษณาของสินค้า หรือบริการ ต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดอื่น ๆ ของตัวสินค้า หรือ บริการที่อาจไม่ได้ระบุไว้ในการโฆษณา เนื่องจากการโฆษณาสินค้าหรือบริการ ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเสนอแต่ข้อดีและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคส่วนข้อเสีย มักจะไม่กล่าวถึงในการโฆษณา จึงจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการสอบถามผู้ขาย หรือบริษัทผู้ผลิต
ข้อความโฆษณาต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความเป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมเป็นส่วนรวม - ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง - ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ โดยใช้ หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการสถิติหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเป็นความจริง หรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม - ข้อความที่เป็นการสนับสนุน โดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ในวัฒนธรรมของชาติ - ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยก หรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน - ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนด ในกระทรวงที่ ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุข้อความให้ครบถ้วน หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย
ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการเก็บรักษาพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึง การละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้ เพื่อการเรียกร้องตามสิทธิของตน พยานหลักฐานดังกล่าว อาจเป็นสินค้าที่แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณ หรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ระบุไว้ในฉลาก มีความสกปรก หรือมีพิษที่ก่อให้เกิดอันตราย ควรจำสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไว้ เพื่อประกอบการ้องเรียน และต้องเก็บเอกสารโฆษณา และใบเสร็จรับเงินเอาไว้ด้วย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคขึ้น ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนินการร้องเรียน ตามสิทธิของตน โดยร้องเรียนไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลจาก

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สิทธิผู้บริโภค 5 ประการ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า"สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

ผู้บริโภคจังหวัดพะเยา สามารถร้องเรียนอาสาสมัครศูนย์คุ้มครองสิทธิ ได้ทั้งจังหวัด ตามที่ติดต่อดังนี้

ชมรมผู้การ คุณสำเร็จ อินต๊ะสาร188 หมู่ 10 ต.ถ้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา081-0263364
เครือข่ายผู้หญิง คุณณัฐพร ธรรมสาร120/1 หมู่ 4 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา085-4029398
เครือข่ายแรงงานนอกระบบ คุณสุพรรณี เวียงคำ197 หมู่ 6 ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา081-0203292
เครือข่ายแรงงานนอกระบบ คุณอดุลย์ เสนาพันธ์199 หมู่ 4 ต.อ่างทอง อ.เชียงคำ จ.พะเยา084-4853108
อาสาสมัครอัยการ
คุณชาญณรงค์ พูนวิริยาภรณ์254 หมู่ 4 ต.ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา081-9611764
เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน คุณสมศักดิ์ อินสะอาด189 หมู่ 2 ต.บ้านถ้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
089-9503781
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี.จังหวัดพะเยา คุณปฎิยุทธ์ กาศเมฆ215 หมู่ 4 ต.ห้วยลาน อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
082-1886853,080-4984094
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี.จังหวัดพะเยา
รังสันติ จันดีวันนา15 หมู่ 12 ต.งิม อ.ปง จ.พะเยา089-5559320

ใบกรอกเรื่องร้องเรียนศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านโทรคมนาคม ภาคเหนือ ใช้แบบนี่ร้องเรียน ได้เลย

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม


วันที่................................................
บันทึกการร้องเรียน
ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
๑. การร้องเรียนผ่านทาง ( ) มาด้วยตนเอง ( ) จดหมาย/อีเมล์ ( )โทรศัพท์ ( ) อื่น...........
๒. ข้อมูลผู้ร้องเรียน...................................................ความเกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย........................เพศ..................เลขที่บัตรประชาชน......................................บ้านเลขที่.................หมู่...................ซอย...........ถนน........................ตำบล/แขวง..................อำเภอ/เขต......................จังหวัด......................รหัสไปรษณีย์.....................โทรศัพท์....................โทรสาร......................อาชีพ................................

๓.ข้อมูลผู้เสียหาย.........................................................เพศ...............เลขที่บัตรประชาชน.......................................บ้านเลขที่.................หมู่...................ซอย...........ถนน....................
ตำบล/แขวง..................อำเภอ/เขต......................จังหวัด......................รหัสไปรษณีย์.....................โทรศัพท์........................โทรสาร......................อาชีพ................................
๔. ชื่อผู้ให้บริการ................................................................................................................................
สถานที่อยู่เลขที่................หมู่ที่………………..ตรอก/ซอย………………..ถนน.......................
แขวง/ตำบล………………. เขต/อำเภอ……………จังหวัด…………รหัสไปรษณีย์……………
โทรศัพท์……………..........โทรสาร……………………………………..
๕. หมายเลขโทรศัพท์/บริการอื่น ที่ต้องการร้องเรียน.........................................................
๖. ประเภทของบริการที่ต้องการร้องเรียน ( ) โทรศัพท์เคลื่อนที่
( ) โทรศัพท์พื้นฐาน ( ) SMS ( ) อินเตอร์เนต
๗. หมวดของเรื่องร้องเรียน ( ) การคิดค่าบริการผิดพลาด ( ) คุณภาพของการให้บริการ
( ) ข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว ( ) ความปลอดภัยต่อสุขภาพ
( ) การยกเลิกการใช้บริการ ( ) การเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ ( ) การให้ข้อมูลผิดพลาด
การเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญา การเข้าถึงการใช้บริการ มาตรฐานการให้บริการที่ดี
อื่นๆ ระบุ.................................................................................................................




๘. รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาข้อร้องเรียน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



๗.คำขอให้ผู้บริการปฎิบัติตาม…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


๘. ท่านเคยร้องเรียนต่อสถาบันฯ ผู้ให้บริการ หรือหน่วยงานอื่นหรือไม่
ไม่เคยร้องเรียน
เคยร้องเรียนต่อหน่วยงาน_____________ เลขที่เรื่องร้องเรียน________ ลงวันที่__________
๑๐. หลักฐานประกอบคำร้องเรียน
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรแสดงคนอื่น
สำเนาใบเสร็จรับเงิน/ใบแจ้งหนี้ จำนวน _______ แผ่น
หลักฐานอื่นๆ เช่น เอกสารโฆษณา ภาพถ่าย แผนที่ โปรดระบุ_________________________


บันทึกการร้องเรียนนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่าเป็นความจริงทุกประการ
ลงชื่อ________________________________ ผู้ร้องเรียน
( ______________________________ )
ลงชื่อ_____________________________ ผู้รับคำร้องเรียน
( ______________________________ )
ข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม คือสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค มีกฏหมายที่มีบทลงโทษกับผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม เราในฐานผู้บริโภค และกลุ่มคนทำงานศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านโทรคมนาคม ต้องช่วยกระตุ้นการร้องเรียนและการบังคับใช้กฏหมาย ของสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค และไม่ให้เกิดการแทรกแซงของกลุ่มทุนด้านโทรคมนาคม
มีกฏหมายสำคัญที่น่าสนใจเรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม
เนื้อหาเพิ่มเติม
http://www.ocpb.go.th/list_law.asp

ข้อมูลจากสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค สคบ(สายด่วน 1669)
วันที่ 15-16 สิงหาคม 2552 ณโรงแรม ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เชียงใหม่ (YMCA) ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นวิทยากรให้มูลนิธิพัฒนาศักยภาพเยาวชน ในการอบรมให้แกนนำเยาวชน ในพื้นที่ภาคเหนือ ข้อมูลสำหรับงาน คุ้มครองสิทธิ เน้นๆๆ ในงาน "วัยมันส์เท่าทันโทรคมนาคม" กิจกรรมดีๆ เพื่อผู้บริโภควัยเยาว์ แกนนำเยาวชน เรียนเล่นโทรคมนาคม ด้วยกิจกรรมคิดเองทำเอง ส่วนผู้ใหญ่หนุนเสริมข้อมูลรู้เท่าทันภัยคลื่นแม่เหล็ก ให้ใช้อย่างปลอดภัย
ข้อมูลจาก
http://www.cm-consumer.com/

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไปเยี่ยมดูเวปไซด์ ของเพื่อนศุนย์คุ้มครองสิทธิ ภาคอื่นกันบ้างนะ

ไปเยี่ยมดูเวปไซด์ ของเพื่อนศุนย์คุ้มครองสิทธิ ภาคอื่นกันบ้างนะ
http://www.consumersongkhla.org จ.สงขลา
http://tcisaraburi.blogspot.com จ.สระบุรี
http://tcieast.blogspot.com กลไกภาคตะวันออก

ดูเขา ดูเรา ทำรายงานร้อยครั้ง ส่งตรงเวลาร้อยครั้ง นะครับ

น้องโพน สาวแฝดคู่ ถอดหมด มาต้มไข่ให้ดู

การทดลองจากเยอรมัน น้องโพน สาวแฝดคู่
ถอดเปลือก ต้มไข่เกือบสุก
เท็จ หรือ จริง ลองไปดูกันได้ นะจะ
http://www.youtube.com/watch?v=7bc2n3lekOU&feature=related

มากินข้าวโพดคั่วฝีมือ น้องโพนดีกว่า

ไปดูฝีมือน้องโพน ทำข้าวโพดคั่ว กับมือดีกว่า
ว่าจะมีวิธีอย่างไร อร่อย เค็ม หวาน รสชาติเลือกได้
อยากรู้ว่าน้องโพนสาวสวยคนไหน คลิกเข้าไปดูเลย
http://www.youtube.com/watch?v=P3XYOVHeqQ8