วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปบทเรียนศูนย์คุ้มครองสิทธิ จ.เพชรบุรณ์

วันที่ 6-7 ธันวาคม 2552 ศบท .เพชรบูรณ์ ได้จัดเวทีประชุมและร่วมสรุปบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา ณ โรงแรมโฆฆิตฮิลล์ โดยมีอาจารย์วิชิต ถิ่นวัฒนากูล เป็นวิทยากรนำขบวนในการถอดบทเรียนในครั้งนี้ มีตัวแทนจากภาคี เครือข่ายต่าง ๆ เข้าร่วมทั้งหมด 25 คน ผลจากการสรุปบทเรียนพบว่า.....consumerpbb.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ

ลองไปเรียนรู้ การทำงานศุนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ แล้วเหลียวมามองดูงานศุนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ใน
"มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ"

ประกอบด้วยมาตรฐาน 5 ด้าน ดังนี้
1. มาตรฐานด้านกายภาพ
2. มาตรฐานด้านบุคลากร
3. มาตรฐานด้านการดำเนินงานแก้ไขปัญหา
4. มาตรฐานด้านระบบข้อมูล
5. มาตรฐานด้านการพัฒนางานบริการเชิงรุก

วิธีการประเมินมาตรฐาน คือ
1. ประเมินศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพของโรงพยาบาล ในแต่ละด้านให้ครบทุกด้าน
2. รวมคะแนนในแต่ละด้านว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่
3. ให้คะแนนตามความเป็นจริง ผลของคะแนนที่ได้จะนำมาเพื่อการพัฒนาในส่วนขาดต่อไป

http://chiangmai.nhso.go.th/
ข้อมูลมาจากเวปไชด์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต1เชียงใหม่

ตามข่าว การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

เท่าทัน ทั่วถึง ตามข่าวงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ผ่านเวปไชด์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผ่านกระดานข่าว
http://www.consumerthai.org/index.php?option=com_content&view=category&id=99&Itemid=122

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กำหนดการมหกรรมเครือข่ายลุ่มน้ำ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2552ณ แกรนด์ภูคำ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำเวลา กิจกรรม9.00-9.30 ลงทะเบียน
กล่าวต้อนรับ โดย นายอนันต์ ดวงแก้วเรือน ประธานเครือข่ายองค์กรชุมชนจัดการทรัพยากรจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรายงาน โดย นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
กล่าวเปิด โดย อมรพันธุ์ นิมานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่9.30-11.00
นำเสนอประสบการณ์ความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเชียงใหม่ กรณี โครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อำเภอ แม่แจ่มและอำเภออมก๋อย
- ผู้นำชุมชนอำเภอแม่แจ่ม และอำเภออมก๋อย
- นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม
- ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย
- หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่โถ
- นายอำเภอแม่แจ่ม
- นายอำเภออมก๋อย
ผู้ดำเนินรายการ โดย นายคณิต ธนูธรรมเจริญ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
11.00–12.30 กลุ่มที่1
ประสบการณ์และข้อเสนอจากตัวแทนอำเภอด้านการแก้ไขปัญหาที่ดินและพัฒนาเกษตร
- กรณีงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น บ้านปางจำปี นายสุจิต ใจมา
- นายสุรชัย มรกตวิจิตรการ บ้านป่าไผ่ ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด
- กรณีการสำรวจข้อมูล ต.ฮอด
- นายกองค์กรบริหารส่วนตำบลแม่ทา
- ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน
- กรณีโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วมอุทยานแห่งชาติออบหลวง
นายพรศักดิ์ ทอดเสียง
ดำเนินรายการโดย นายวิชัย กิจมี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
11.00-12.30 กลุ่มที่ 2
ประสบการณ์และข้อเสนอ ต่อการจัดการป่า ไฟป่า การจัดการลุ่มน้ำ
- ประสบการณ์และข้อเสนอต่อการจัดการไฟป่า โดย นายสุนทร เทียรแก้ว
- ประสบการณ์และข้อเสนอต่อการจัดการลุ่มน้ำ โดย นายศักดา บุญมาปะ
- การพัฒนาความรู้ผ่านงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการป่าชุมชน
โดย ตัวแทนแม่บ้านแม่ทา
- การเชื่อมโยงแผนชุมชนกับแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จังหวัด นายสัญญา ทุมตะขบ
ดำเนินรายการ โดย ดร.วสันต์ จอมภักดี
12.30-13.30 พักรับประทานอาหาร
13.30-15.00บทบาทความหมาย และคุณค่าใหม่ของระบบราชการ ในการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรอย่างบูรณาการ
- ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- อธิบดีกรมป่าไม้
- อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
- เลขาธิการสำนักงาน กปร.
- พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง ประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
ดำเนินรายการโดย คุณนฤมล มั่นวงศ์วิโรจน์
15.00-16.00ประมวลสรุปและนำเสนอหลักการสำคัญในการสร้างความร่วมมืออย่างการบูรณาการ โดย
- อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ประธานสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาสังคม
- นางสาวจิริกา นุตาลัย ผู้อำนวยการโครงการปิดทองหลังพระ
- ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่
16.15-16.45กล่าวปิดเพื่อการเริ่มต้นยุคแห่งความร่วมมือใหม่

รวมบทความดีๆ กรณี 3G ในไทย

http://www.mediafire.com/file/eyndynyrlmn/กทช.เร่ง.doc
http://www.mediafire.com/file/mmnmntmtwzk/กสท.doc
http://www.mediafire.com/file/zgjrydmyot2/ดีเทค
http://www.mediafire.com/file/mztz4izqkjd/ถึงตอนนี้ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงราวปี http://www.mediafire.com/file/2tkxw2mrnvi/ทีโอที
http://www.mediafire.com/file/ykmzy2zznyy/ม.แม่ฟ้าหลวง

ดูเวป นี่ตรงกับงานของผู้บริโภคช่วงนี่เลย"การจัดการองค์ความรู้"





แนะนำเวปไซด์ ใหม่ สำหรับเพื่อนที่สนใจเรื่องงานจัดการองค์ความรู้
http://www.chumchontai.com
(ภาพประกอบมาจากเวปไซด์ชุมชนไท)

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552



กลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ภาคเหนือ และศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค 6 จังหวัดในภาคเหนือร่วมทบทวนและพัฒนาการจัดทำแผนที่ผลลัพธ์ของเครือข่ายผู้บริโภค ภาคเหนือครั้งที่ 2
วันที่ 9-10 พฤศจิกายน 52 ณ โรงแรมเกทเวย์ อ.เมือง จ.พะเยา กลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ภาคเหนือ มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จัดเวทีทบทวนและพัฒนาการจัดทำแผนที่ผลลัพธ์ของเครือข่ายผู้บริโภค ภาคเหนือครั้งที่ 2 โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งหมด 35 คน มีเป้าประสงค์สำคัญคือการพัฒนาการจัดทำแผนที่ผลลัพธ์ของศูนย์จังหวัดและภาคให้เสร็จสมบุรณ์ เพื่อนำไปสู่การทำงานที่มีกระบวนการ และต่อยอดการทำงานในปี 2553-2554
กระบวนการเรียนรู้ภายในเวทีที่สำคัญคือการให้ศูนย์จังหวัดและภาค ได้ทบทวนและพัฒนาแผนที่ผลลัพธ์การทำงาน โดยเริ่มตั้งแต่ การคิดบันไดบงชี้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของภาคีหุ้นส่วน,การพัฒนา กระบวนการ กิจกรรมเพื่อให้บรรลุ ตัวบงชี้,การวางแผนในเชิงองค์กรเพื่อสนับสนุน เอื้ออำนวย การทำงานของภาคีหุ้นส่วน และพัฒนาเป็นแผนการดำเนินงานองค์กร
การดำเนินงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ใช้เครื่องมือแผนที่ผลลัพธ์ในการวางแผน กระบวนการทำงาน กิจกรรม การติดตาม และทบทวน ทำให้เจ้าหน้าที่ศูนย์คุ้มครองสิทธิได้มีความชัดเจนในเชิงเป้าหมายการทำงาน และกระบวนการขับเคลื่อนการทำงานที่จะทำงานเรื่องคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค มากขึ้น

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พิจิตร ปรับขบวนงานผู้บริโภค รองรับการทำงาปี 53




พิจิตร ปรับขบวนงานคุ้มครองผู้บริโภคผู้บริโภค ได้แรงหนุนจากหลายฝ่าย
ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมจังหวัดพิจิตร กลไกประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคเหนือ(มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกันจัดสัมมนาเพื่อเตรียมความพร้อมแกนนำเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดพิจิตร เพื่อนำไปสู่การทำงานคุ้มครองสิทธิเต็มรูปแบบในปี 53
วันที่ 15-16 ตุลาคม 2552 ณ เรือนรับรองสเต็กกำนันเต่า อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตรศูนย์คุ้มครองสิทธิได้จัดการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคณะทำงานและแกนนำเครือข่ายด้านคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน โดยเน้นให้คามสำคัญกับการทำความเข้าใจแนวคิด กระบวนการ และเป้าหมายในการทำงาน การเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ด้านผู้บริโภค เช่น เรื่องร่าง พรบ.องค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค อนาคต3จีของไทย รวมถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิผู้บริโภคในพื้นที่พิจิตร
ในวันที่สองมีคุณบุญยืน ศิริธรรม คุณกชกร แสงแถลง ร่วมเพิ่มเติมแนวคิด กำลังใจ ยกประสบการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคในภาคตะวันตก มาเรียนรู้ในพิจิตร และเน้นให้กำลังใจ กำลังสมอง เติมไฟลุกโชน ให้กับเครือข่ายการทำงานศูนย์คุ้มครองสิทธิในจังหวัดพิจิตรได้เดินหน้างานอย่างมั่นใจยิ่งขึ้น










มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ติดตามเยี่ยมองค์กรผู้บริโภค ภาคเหนือ


มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลไกประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคเหนือ ออนทัวร์เยี่ยมเยี่ยนศูนย์คุ้มครองสิทธิ์ 4 จังหวัดในภาคเหนือ
วันที่ 29 – 1 พฤศจิกายน 2552 คุณสารี อ่องสมหวัง คุณสุภาพร ถิ่นวัฒนากุล นำทีมน้องจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา เยี่ยมติดตาม หนุนเสริมการทำงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีทีมทำงานศูนย์คุ้มครองสิทธิ อาสาสมัคร คณะกรรมการ เครือข่าย ภาคีหุ้นส่วน ในจังหวัดเข้าร่วมนำเสนอความก้าวหน้าการทำงาน สถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค และทิศทางข้างหน้าของการทำงานศูนย์คุ้มครองสิทธิ เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน
การเยี่ยม ติดตาม หนุนเสริมการทำงานในครั้งนี้ ทำให้ศูนย์ได้เรียนรู้ เข้าใจ และเชื่อมโยงงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดของตนเองมีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงการเชื่อมโยงงานขบวนผู้บริโภคกับงานด้านอื่นๆ การเตรียมความพร้อมเป็นองค์กรประสานงานองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค และรวมถึงความยั่งยืนขององค์กรในการทำงานต่อไป

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตามบทเรียนอาสาสมัครศูนย์คุ้มครองสิทธิจังหวัดเชียงใหม่


ในวันที่ 10 ตค.52 ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเชียงใหม่ จัดการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครฯ กับบทบาทรับเรื่องร้องเรียน โดยมีวัตุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานของอาสาสมัครรุ่นเก่าให้กับอาสาฯ รุ่นใหม่ และติดตามกระบวนการทำงานในพื้นที่ พร้อมทั้งเสริมความรู้ที่เท่าทันต่อสถานการณ์จาก จนท.ศบท.ชม เรียนรู้กระบวนการรับเรื่องร้องเรียน ตามแบบฟอร์มรับเรื่องร้องเรียนของศูนย์ฯ ตามไปดูได้ที่เวปไซด์ http://www.cm-consumer.com/activity.php?id=16











องค์กรผู้บริโภค เรียกร้องหยุดอ้างผลประโยชน์ผู้บริโภค
เพราะกรอบการประมูลผู้บริโภคยังไม่ได้ผลประโยชน์จริง
ไม่มีหลักประกันเรื่องการเข้าถึงของกลุ่มคนพิเศษ
เป็นเพียงการลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ
แนวทางประมูลอาจจะเกิดปัญหาการฮั้วประมูลได้
พร้อมเรียกร้องให้รับฟังความคิดเห็นให้รอบด้านก่อนการตัดสินใจ 3 G
และต้องยึดผลประโยชน์ของผู้บริโภคและรัฐเป็นสำคัญ

สืบเนื่องจากทั้งนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ต่างให้ความเห็น ว่า การประมูลคลื่นโทรคมนาคม รุ่น 3G จะไม่ให้ความสำคัญเรื่องราคาในการประมูล เพราะหากประมูลราคาแพงสุดท้ายภาระจะตกอยู่กับผู้บริโภค
การกล่าวอ้างดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ถ้าจะให้ประโยชน์เกิดกับผู้บริโภค ในการประมูลคลื่นฯ 3G รัฐจะต้องได้รับประโยชน์น้อย แต่ข้อเท็จจริงก็คือระบบการให้บริการในกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยปัจจุบัน มีผู้ให้บริการที่ได้รับสัมปทานจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์การโทรศัพท์ (TOT) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT) ซึ่งทำให้บริษัทเอกชนที่ให้บริการโทรคมนาคมมีการจ่ายส่วนแบ่งค่าตอบแทนให้รัฐ ผ่าน TOT และ CAT รวมแล้วมากถึงปีละประมาณ 50,000 ล้านบาท หรือถ้าคิดคำนวณตลอดอายุสัมปทาน จะเป็นเม็ดเงินอย่างน้อยที่สุด 1.8 แสนล้านบาท (ตัวเลขจากการคำนวณของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวณิชย์) เมื่อเทียบกับการประมูลคลื่นฯ 3G ที่มีการกำหนดราคาเบื้องต้นเพียง 6,000 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาต จะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์จากส่วนต่างของระบบสัมปทานจำนวนมหาศาล การจะผลักภาระต่อผู้บริโภคหรือไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญคือการมีระบบการแข่งขันที่เป็นจริงและเป็นธรรม รวมทั้งการมีกติกาการกำกับดูแลที่เข้มแข็ง มากกว่าที่จะสัมพันธ์โดยตรงกับราคาการประมูล
ข้อที่ต้องพิจารณาที่แท้จริงในการเปิดประมูลกลับอยู่ที่ว่า เงื่อนไขที่กำหนดสำหรับการประมูลในครั้งนี้ก่อให้เกิดการแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรมเพียงใด ข้อเท็จจริงในขณะนี้ก็คือ ทาง กทช. กำหนดที่จะดำเนินการเปิดประมูลใบอนุญาตคลื่นฯ 3G จำนวน 4 ใบ ในขณะที่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการประมูลเพียง 4 บริษัท ภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้จึงไม่เอื้อให้มีการแข่งขันในการประมูลอย่างแท้จริง ตรงกันข้ามกลับจะเปิดช่องให้เกิดการฮั้วประมูลขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้รัฐเสียประโยชน์ เนื่องจากไม่ได้รับผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสม
ด้วยเหตุผลหลักดังกล่าว ประกอบกับมิติของผลกระทบด้านต่างๆ ที่จะติดตามมาจากการเปิดประมูลคลื่นฯ 3G ในครั้งนี้ ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจึงขอเรียกร้องดังนี้
1. กทช. ควรขยายกรอบการรับฟังความคิดเห็นที่รวมถึงผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ เช่น หลักประกันเรื่องการเข้าถึงบริการของกลุ่มคนพิเศษ หลักประกันเรื่องราคา เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับการลดต้นทุนในการดำเนินการที่ปรับเปลี่ยนจากระบบการจ่ายสัมปทานมาเป็นการจ่ายค่าประมูลคลื่น 3 G ดังนั้นต้นทุนที่บริษัทได้ลดราคาต้องคืนผลประโยชน์นั้นให้กับผู้บริโภค นอกเหนือจากการรับฟังเรื่องคุณสมบัติของผู้เข้าประมูล 3จี ผู้ลงทุนจากต่างประเทศ ราคาขั้นต้นของการประมูล รวมทั้งโครงสร้างทางการตลาดที่มีการดำเนินการที่ผ่านมา
2. องค์กรผู้บริโภคเห็นความจำเป็นในการเปิดบริการโทรคมนาคม 3G แต่เนื่องจากความต้องการระบบ 3G ตามที่มีการคาดการณ์นั้นมีเพียงร้อยละ 10 ของประชากรไทยเท่านั้น เมื่อประกอบเข้ากับจำนวนเอกชนที่มีศักยภาพในการเข้าประมูลที่มีอยู่น้อย ดังนั้นในการเปิดประมูลคลื่นฯ 3G ครั้งนี้จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดให้เข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมด แทนที่จะเปิดใบอนุญาตถึง 4 ใบ ควรมีการเปิดเพียง 1-2 ใบเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรคลื่นโทรคมนาคม 3G อันเป็นทรัพยากรสาธารณะอย่างคุ้มค่าและมีประโยชน์สูงสุด ตลอดจนหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฮั้วประมูลด้วย
3. ควรสนับสนุนให้เกิดกลไกการติดตามกำกับเนื้อหา(Content) ความเท่าทันเทคโนโลยี และรวมทั้งปัญหาที่เกิดจากระบบ 3 G ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกมส์(Games) การพนัน ( Gambling ) และการล่อลวงเด็กและผู้หญิง(Girl)









วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ให้การสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายผู้บริโภคระดับจังหวัดในภาคเหนือ”




สำนักวิชานิติศาสสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคเหนือ ร่วมกันพัฒนาแผนการพัฒนาศักยภาพการทำงานผลักดันในเชิงนโยบาย ให้กับคณะทำงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
อ.พลอยขวัญ เหล่าอมต สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พะเยา ร่วมกับกลไกประสานงานคุ้มครองสิทธิภาคเหนือ ศูนย์ครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา พิจิติร และจังหวัดเพชรบุรณ์ จัดเวทีนำเสนอข้อมูลจากการลงไปร่วมพูดคุยการทำงานกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ในทุกระดับ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำไปสู่การสร้างกลยุทธ์ทางเลือกในการผลักดันเชิงโยบาย ของคณะทำงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 ณ โรงแรมภูทองเพลส จ.พะเยา
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของศูนย์ฯระดับจังหวัดทั้งหมด โดยใช้เครื่องมือ SWOTซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลากหลาย จากนั้นได้มีการร่วมกันกำหนดภารกิจ วัตถุประสงค์ ของการทำงานรณรงค์เชิงนโยบายร่วมกัน โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง SMS กวนใจ และ บัตรเติมเงินซึ่งถือว่าเป็นประเด็นนโยบายระดับชาติร่วมกัน โดยมีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนการทำงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในปี 53 ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

งานหลักประกันสุขภาพภาคเหนือ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเครือข่ายภาคประชาชนในภาคเหนือจะได้จัดให้มีการทำเวทีระดับจ้งหวัดเพื่อรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการภายใต้ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายประชาชน ผู้สนใจและผู้ให้บริการ เช่นโรงพยาบาล สถานีอนามัย เป็นต้น เพื่อนำความคิดเห็นดังกล่าวนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพและมาตราฐานบริการสาธารณสุข โดยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ได้มีการกำหนดจังหวัดในการจัดเวที คือจังหวัดลำพูน และเชียงราย
โหลดกรอบการจัดเวทีได้ที่ http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7cc36e2a2d1ec6df50292b492bd5edc68e

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

สถิติการรับเรื่องร้องเรียนศูนย์คุ้มครองสิทธระดับจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ

ดูสถิติการรับเรื่องร้องเรียนศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในระดับจังหวัด ในภาคเหนือ
จังหวัดลำปาง http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7cf562fab7c1a262d2c95965eaa7bc68bc
จังหวัดพะเยา http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7c61eefcd3191223a95be6ba49b5870170
จังหวัดพิจิตร..................
จังหวัดเพชรบุรณ์............
จังหวัดเชียงราย..............
จังหวัดเชียงใหม่........
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มรับเรื่องร้องเรียนการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม http://www.tci.or.th/complain.asp

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กำหนดการ การจัดกิจกรรมของศูนย์จังหวัด เดือนกันยายน

รวมกำหนดการ การจัดกิจกรรมศุนย์คุ้มครองสิทธิในระดับจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ช่วงเดือน 1 กันยายน 52 - 30 กันยายน 52

ดาวน์โหลดเลย จ๊ะ

  1. กำหนดการเวทีทบทวนติดตามการทำงานคุ้มครองสิทธิ จังหวัดลำปาง 30-31 สิงหาคม 52 http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7c7a3b1b64268650ca5621d66e282a0ee8
  2. กำหนดการเวทีรถสาธารณะ จังหวัดพิจิตร 8 กันยายน 52 http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7cfe7507663120dbb65621d66e282a0ee8

เชิญดาวน์โหลด ข้อมูลใหม่ๆ ด้านคุ้มครองผู้บริโภค

ข้อมูลสำหรับการติดตาม ความก้าวหน้าการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค ดาวน์โหลดเลยครับ
  1. ทำไมต้องยกเลิกพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7c67ba06c4f4b8b2875621d66e282a0ee8
  2. อับเดทกองทุนสุขภาพตำบล http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7c96519ead891cf0595621d66e282a0ee8

หลักสูตรการอบรมคุ้มครองสิทธิด้านโทรคมนาคมสำหรับเยาวชน ภาคเหนือ

หลักสูตรการอบรมเยาวชน ภาคเหนือ
ที่ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่
ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาศักยภาพเยาวชน ในการอบรมเยาวชนในพื้นที่ภาคเหนือ ลองไปดูนะจะ
http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7ce65616a3ea1d4bc9c95965eaa7bc68bc

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลักการเสนอพระราชบัญญํติกองทุนสุนไหมทดแทนผูประสบภัยจากรถ พ.ศ.

หลักการและเหตุผลในการเสนอพระราชบัญญัติกองทุนสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. .
พรบ.รถ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นกฎหมายภาคบังคับกับเจ้าของรถทุกคนที่ต้องมีหน้าที่จ่ายเบี้ยประกัน โดยการบริหารจัดการของบริษัทประกันภัยเอกชนและผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับการคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาล รวมทั้งได้รับการชดเชยความเสียหายจากการทุพพลภาพหรือเสียชีวิต ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา จำนวนเบี้ยประกันภาคบังคับประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ถูกใช้ไปเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูงถึง ๔,๗๘๕ ล้านบาท ขณะที่ใช้ในการจ่ายสินไหมทดแทนกับผู้ประสบภัยจากรถเพียง ๔,๕๓๔ ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งสะท้อนปัญหาในการบริหารจัดการและประสิทธิภาพในการดำเนินการที่สร้างภาระให้กับผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันผู้ประสบภัยจากรถจำนวนมากกว่า ร้อยละ ๕๕.๓ ไม่ใช้สิทธิตามกฎหมายฉบับนี้ มีจำนวนเพียงร้อยละ ๔๒ เท่านั้นที่ใช้สิทธิและเกือบทุกคนที่ใช้สิทธิประสบปัญหาในการใช้สิทธิไม่ว่าจะเป็นการบ่ายเบี่ยงไม่จ่ายสินไหม การจ่ายเงินช้า เป็นภาระในการสำรองเงินจ่ายล่วงหน้า ซึ่งถูกพิสูจน์มานานกว่า ๑๗ ปี เนื่องจากพรบ.รถ เกิดขึ้นก่อนที่จะมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม หรือบัตรทอง ดังนั้นความคุ้มครองจากพรบ. รถ ด้านการรักษาพยาบาลจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะหลักเกณฑ์การใช้สิทธิมีการจำกัดเพดานวงเงินในการรักษาพยาบาล มักจะมีการผลักภาระมาที่ผู้ประสบภัยที่ต้องจ่ายเงินสำรอง และเป็นปัญหาในการล้มละลายของครอบครัวทั้ง ๆ ที่คนไทยทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงมีหลักการที่สำคัญ ในการยกเลิกภาระของผู้บริโภคในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ต้องจ่ายเงินเอง มีคณะกรรมการบริหารกองทุนที่มีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และมีสำนักงานที่เป็นอิสระบริหารกองทุนสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ใช้งบประมาณในการบริหารกองทุนไม่เกิน ๓-๕ เปอร์เซ็นต์ สนับสนุนกลไกรัฐในการต่อทะเบียนรถยนต์ในการเก็บเบี้ยประกัน รวมทั้งการจ่ายเงินสินไหมทดแทนไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด มีขั้นตอนที่ดี รวดเร็ว และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและอัตราการเก็บเบี้ยประกันในแต่ละปี ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องยกเลิกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคม อีกทั้งเป็นการผลักภาระให้ประชาชน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ลดความซ้ำซ้อนและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ลดภาระประชาชน และลดภาระความยุ่งยากในการเข้าถึงสิทธิของผู้ประสบภัย รวมทั้งประชาชนจะได้รับการคุ้มครองอย่างทั่วถึงและสามารถใช้สิทธิได้อย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติกองทุนสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ฉบับนี้

ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เนท ด้วยตัวท่านเอง

สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เล็งใช้มาตรการสังคม กำราบผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโฆษณาความเร็วเกินจริง จับมือสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เปิดโครงการ "สปีดเทสต์" (Speed Test) เก็บข้อมูลใช้บริการเน็ตผ่านเว็บไซต์ ปิดรับข้อมูล 30 พ.ย.52 นี้ ที่ http://www.speedtest.or.th/ หรือมีข้อร้องเรียนสามารถร้องเรียนเรื่องอินเตอร์เนทได้ผ่านศูนย์คุ้มครองสิทธ ในระดับจังหวัดในภาคเหนื ได้... (ข้อมูลจากhttp://www.tci.or.th/hotnews_show.asp?id=81)

สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
· 404 อาคารพลโยธินเซ็นเตอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสาแสนใน เขตพญาไทย กรุงเทพ 10400 โทรศัพท์ 02-279-0250 tci.service@hotmail.com

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่
· 374 หมู่บ้านเชียงใหม่แลนด์ ถนนช้างคลาน ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100 โทรศัพท์ 053-204439 มือถือ081-7163177 nok829@hotmail.com

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา
· 312/1ถ.พหลโยธิน ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา 56000 โทรศัพท์ 054-480905
มือถือ 084-1751680 mansada-p@hotmail.com

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำปาง
· 25 ถ.ศิริวิสาร ต.สวนดอก อ.เมือง จ.ลำปาง 52000 โทรศัพท์ 054-352393
มือถือ081-9871627 pam2516@gmail.com

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเพชรบูรณ์
· 69/43 ข้างสถานีขนส่งผู้โดยสาร ถนนกลางเมืองพัฒนา อำเภอเมือง จ.เพชรบูรณ์
มือถือ084-8175960 monk_2550@yahoo.co.th

ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดเชียงราย
· 434/4 หมู่ที่ 19 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57100 โทรศัพท์ 053-714685 มือถือ 084-0466548 anchalee126@hotmail.com

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคในการซื้อสินค้าหรือบริการ
ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้าหรือบริการ ได้แก่ การให้ความสำคัญฉลากของสินค้าและการโฆษณาสินค้าหรือบริการ
1.ผู้บริโภคต้องตรวจดูฉลากของสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบสินค้าแต่ละยี่ห้อ ก่อนตัดสินใจเลือกสินค้าฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากจะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
- ชื่อประเภท หรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจ ได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ในกรณีที่เป็นสินค้าสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
- สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายแล้วแต่กรณี - ต้องแสดงขนาดหรือมิติ หรือปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้านั้นแล้วแต่กรณี สำหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็มหรือชื่อย่อหรือสัญลักษณ์แทนก็ได้
- ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด
- ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค
- วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน วันเดือนปีที่ระบุนั้น เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถ้ามี) - ราคาโดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นก็ได้
2. สอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ คุณภาพของสินค้าจากผู้ขาย หรือผู้ที่เคยใช้สินค้านั้นแล้ว
3. ศึกษาเงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสินค้า เช่น วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ วิธีการใช้ การเก็บรักษา คำเตือนหรือข้อควรระวังของสินค้าให้เข้าใจอย่างท่องแท้ เพื่อผู้บริโภค สมารถใช้สินค้าได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ และ ประหยัด
4. ร้องขอให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพ และปริมาณของสินค้าว่าเป็นจริง ตามที่ระบุไว้ที่ฉลากของสินค้าหรือไม่ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและเป็นธรรม แก่ผู้บริโภค
5. ผู้บริโภคอย่าด่วนหลงเชื่อคำโฆษณาของสินค้า หรือบริการ ต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดอื่น ๆ ของตัวสินค้า หรือ บริการที่อาจไม่ได้ระบุไว้ในการโฆษณา เนื่องจากการโฆษณาสินค้าหรือบริการ ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเสนอแต่ข้อดีและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคส่วนข้อเสีย มักจะไม่กล่าวถึงในการโฆษณา จึงจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการสอบถามผู้ขาย หรือบริษัทผู้ผลิต
ข้อความโฆษณาต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความเป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมเป็นส่วนรวม - ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง - ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ โดยใช้ หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการสถิติหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเป็นความจริง หรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม - ข้อความที่เป็นการสนับสนุน โดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ในวัฒนธรรมของชาติ - ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยก หรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน - ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนด ในกระทรวงที่ ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุข้อความให้ครบถ้วน หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย
ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการเก็บรักษาพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึง การละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้ เพื่อการเรียกร้องตามสิทธิของตน พยานหลักฐานดังกล่าว อาจเป็นสินค้าที่แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณ หรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ระบุไว้ในฉลาก มีความสกปรก หรือมีพิษที่ก่อให้เกิดอันตราย ควรจำสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไว้ เพื่อประกอบการ้องเรียน และต้องเก็บเอกสารโฆษณา และใบเสร็จรับเงินเอาไว้ด้วย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคขึ้น ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนินการร้องเรียน ตามสิทธิของตน โดยร้องเรียนไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลจาก

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สิทธิผู้บริโภค 5 ประการ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า"สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

ผู้บริโภคจังหวัดพะเยา สามารถร้องเรียนอาสาสมัครศูนย์คุ้มครองสิทธิ ได้ทั้งจังหวัด ตามที่ติดต่อดังนี้

ชมรมผู้การ คุณสำเร็จ อินต๊ะสาร188 หมู่ 10 ต.ถ้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา081-0263364
เครือข่ายผู้หญิง คุณณัฐพร ธรรมสาร120/1 หมู่ 4 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา085-4029398
เครือข่ายแรงงานนอกระบบ คุณสุพรรณี เวียงคำ197 หมู่ 6 ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา081-0203292
เครือข่ายแรงงานนอกระบบ คุณอดุลย์ เสนาพันธ์199 หมู่ 4 ต.อ่างทอง อ.เชียงคำ จ.พะเยา084-4853108
อาสาสมัครอัยการ
คุณชาญณรงค์ พูนวิริยาภรณ์254 หมู่ 4 ต.ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา081-9611764
เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน คุณสมศักดิ์ อินสะอาด189 หมู่ 2 ต.บ้านถ้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
089-9503781
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี.จังหวัดพะเยา คุณปฎิยุทธ์ กาศเมฆ215 หมู่ 4 ต.ห้วยลาน อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
082-1886853,080-4984094
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี.จังหวัดพะเยา
รังสันติ จันดีวันนา15 หมู่ 12 ต.งิม อ.ปง จ.พะเยา089-5559320

ใบกรอกเรื่องร้องเรียนศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านโทรคมนาคม ภาคเหนือ ใช้แบบนี่ร้องเรียน ได้เลย

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม


วันที่................................................
บันทึกการร้องเรียน
ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
๑. การร้องเรียนผ่านทาง ( ) มาด้วยตนเอง ( ) จดหมาย/อีเมล์ ( )โทรศัพท์ ( ) อื่น...........
๒. ข้อมูลผู้ร้องเรียน...................................................ความเกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย........................เพศ..................เลขที่บัตรประชาชน......................................บ้านเลขที่.................หมู่...................ซอย...........ถนน........................ตำบล/แขวง..................อำเภอ/เขต......................จังหวัด......................รหัสไปรษณีย์.....................โทรศัพท์....................โทรสาร......................อาชีพ................................

๓.ข้อมูลผู้เสียหาย.........................................................เพศ...............เลขที่บัตรประชาชน.......................................บ้านเลขที่.................หมู่...................ซอย...........ถนน....................
ตำบล/แขวง..................อำเภอ/เขต......................จังหวัด......................รหัสไปรษณีย์.....................โทรศัพท์........................โทรสาร......................อาชีพ................................
๔. ชื่อผู้ให้บริการ................................................................................................................................
สถานที่อยู่เลขที่................หมู่ที่………………..ตรอก/ซอย………………..ถนน.......................
แขวง/ตำบล………………. เขต/อำเภอ……………จังหวัด…………รหัสไปรษณีย์……………
โทรศัพท์……………..........โทรสาร……………………………………..
๕. หมายเลขโทรศัพท์/บริการอื่น ที่ต้องการร้องเรียน.........................................................
๖. ประเภทของบริการที่ต้องการร้องเรียน ( ) โทรศัพท์เคลื่อนที่
( ) โทรศัพท์พื้นฐาน ( ) SMS ( ) อินเตอร์เนต
๗. หมวดของเรื่องร้องเรียน ( ) การคิดค่าบริการผิดพลาด ( ) คุณภาพของการให้บริการ
( ) ข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว ( ) ความปลอดภัยต่อสุขภาพ
( ) การยกเลิกการใช้บริการ ( ) การเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ ( ) การให้ข้อมูลผิดพลาด
การเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญา การเข้าถึงการใช้บริการ มาตรฐานการให้บริการที่ดี
อื่นๆ ระบุ.................................................................................................................




๘. รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาข้อร้องเรียน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



๗.คำขอให้ผู้บริการปฎิบัติตาม…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


๘. ท่านเคยร้องเรียนต่อสถาบันฯ ผู้ให้บริการ หรือหน่วยงานอื่นหรือไม่
ไม่เคยร้องเรียน
เคยร้องเรียนต่อหน่วยงาน_____________ เลขที่เรื่องร้องเรียน________ ลงวันที่__________
๑๐. หลักฐานประกอบคำร้องเรียน
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรแสดงคนอื่น
สำเนาใบเสร็จรับเงิน/ใบแจ้งหนี้ จำนวน _______ แผ่น
หลักฐานอื่นๆ เช่น เอกสารโฆษณา ภาพถ่าย แผนที่ โปรดระบุ_________________________


บันทึกการร้องเรียนนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่าเป็นความจริงทุกประการ
ลงชื่อ________________________________ ผู้ร้องเรียน
( ______________________________ )
ลงชื่อ_____________________________ ผู้รับคำร้องเรียน
( ______________________________ )
ข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม คือสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค มีกฏหมายที่มีบทลงโทษกับผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม เราในฐานผู้บริโภค และกลุ่มคนทำงานศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านโทรคมนาคม ต้องช่วยกระตุ้นการร้องเรียนและการบังคับใช้กฏหมาย ของสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค และไม่ให้เกิดการแทรกแซงของกลุ่มทุนด้านโทรคมนาคม
มีกฏหมายสำคัญที่น่าสนใจเรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม
เนื้อหาเพิ่มเติม
http://www.ocpb.go.th/list_law.asp

ข้อมูลจากสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค สคบ(สายด่วน 1669)
วันที่ 15-16 สิงหาคม 2552 ณโรงแรม ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เชียงใหม่ (YMCA) ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นวิทยากรให้มูลนิธิพัฒนาศักยภาพเยาวชน ในการอบรมให้แกนนำเยาวชน ในพื้นที่ภาคเหนือ ข้อมูลสำหรับงาน คุ้มครองสิทธิ เน้นๆๆ ในงาน "วัยมันส์เท่าทันโทรคมนาคม" กิจกรรมดีๆ เพื่อผู้บริโภควัยเยาว์ แกนนำเยาวชน เรียนเล่นโทรคมนาคม ด้วยกิจกรรมคิดเองทำเอง ส่วนผู้ใหญ่หนุนเสริมข้อมูลรู้เท่าทันภัยคลื่นแม่เหล็ก ให้ใช้อย่างปลอดภัย
ข้อมูลจาก
http://www.cm-consumer.com/

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไปเยี่ยมดูเวปไซด์ ของเพื่อนศุนย์คุ้มครองสิทธิ ภาคอื่นกันบ้างนะ

ไปเยี่ยมดูเวปไซด์ ของเพื่อนศุนย์คุ้มครองสิทธิ ภาคอื่นกันบ้างนะ
http://www.consumersongkhla.org จ.สงขลา
http://tcisaraburi.blogspot.com จ.สระบุรี
http://tcieast.blogspot.com กลไกภาคตะวันออก

ดูเขา ดูเรา ทำรายงานร้อยครั้ง ส่งตรงเวลาร้อยครั้ง นะครับ

น้องโพน สาวแฝดคู่ ถอดหมด มาต้มไข่ให้ดู

การทดลองจากเยอรมัน น้องโพน สาวแฝดคู่
ถอดเปลือก ต้มไข่เกือบสุก
เท็จ หรือ จริง ลองไปดูกันได้ นะจะ
http://www.youtube.com/watch?v=7bc2n3lekOU&feature=related

มากินข้าวโพดคั่วฝีมือ น้องโพนดีกว่า

ไปดูฝีมือน้องโพน ทำข้าวโพดคั่ว กับมือดีกว่า
ว่าจะมีวิธีอย่างไร อร่อย เค็ม หวาน รสชาติเลือกได้
อยากรู้ว่าน้องโพนสาวสวยคนไหน คลิกเข้าไปดูเลย
http://www.youtube.com/watch?v=P3XYOVHeqQ8

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ใช้มือถือในปั่มน้ำมัน ระเบิดท้วมตัว

คลิปวีดีโอพลาดใช้มือถือในปั้มน้ำมัน ระบิดคนกระเด็น ไฟท้วม








พัฒนาทีมด้านการเงินให้มีมตราฐานเดียวกัน
กลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ภาคเหนือได้พัฒนาและยกระดับระบบการจัดการด้านการเงินให้มีความเข้าใจและมีแนวทางเดียวกันในทุกศูนย์คุ้มครองสิทธิฯในระดับจังหวัด
กลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคฯภาคเหนือ และสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จัดอบรมและทบทวนการจัดการด้านการเงินและ บัญชีให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน กับเจ้าหน้าที่การเงินของศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคฯจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง พะเยา เชียงราย และเพชรบุรณ์ จำนวน13คน เมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม 2552 ณ โรงแรมฮอลิเดย์การเดน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เพื่อให้ระบบการเงินการบัญชีของศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในพื้นที่ภาคเหนือ มีระบบการจัดการบัญชีและการเงินเป็นมาตรฐานเดียวกันและเชื่อมโยงระบบการจัดการและตรวจสอบกับสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้
โดยได้ทบทวนระบบและระเบียบการจัดการเงิน-การบัญชีในแต่ละขั้นตอน การจัดการใบเสร็จ ใบสำคัญรับเงิน ตามระเบียบการเงินของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งจะทำให้ระบบการเงินทั้งหมดสามารถตรวจสอบได้ง่ายและมีความถูกต้องอย่างชัดเจนมากขึ้นด้วย










สร้างพลังเครือข่ายนักวิชาการ ภาคเหนือครั้งที่2
กลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมภาคเหนือ ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการ เสริมสร้างพลังการทำงานร่วมกับองค์กรผู้บริโภค

วันที่ 16 กรกฏาคม 2552 ณ โรงแรมฮอลิเดย์การ์เด้น อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคฯภาคเหนือ ร่วมกับสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมและเครือข่ายนักวิชาการจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฎจังหวัดเชียงราย และเครือข่ายนักวิชาการจากจ.ลำปาง มาร่วมประชุมเป็นครั้งที่2 เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายนักวิชาการกับองค์กรผู้บริโภคในการแก้ไขปัญหาผู้บริโภคโดยเฉพาะด้าน โทรคมนาคม
ผศ.ดร.นิภาภณธ์ ศิริผล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เสนอแนวคิดที่น่าสนใจในการศึกษาวิจัยพื้นที่เข้มข้นของสัญญาณ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ โดย มีแนวทางการศึกษาได้แก่การเก็บข้อมูลพื้นที่เข้มข้นของสัญญาณที่ส่งผลต่อสุขภาพ การพัฒนาเครื่องมือวัดสัญญาณเฉพาะความถี่ และการรณรงค์สร้างความเข้าใจการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างรู้เท่าทัน .....เช็คตรงนี้อีกครั้งหนึ่งพี่ไม่ค่อยแน่ใจนะว่าสรุปถูกค้อง????
นอกจากนี้ในส่วนของสถาบันการศึกษาที่อื่นๆ ได้มีความสนใจที่จะทำงานสนับสนุนด้านวิชาการร่วมกับองค์กรผู้บริโภคในระดับจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลสถานการณ์กรณีSMSกวนใจ การรณรงค์สร้างความตระหนักและความตื่นตัวเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคให้กับนักศึกาของแต่ละสถาบัน เป็นต้น




วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


ในโอกาสที่ คบท./สบท. ได้สัญจรมาเยือนจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน 2552 ณ ห้องประชุมภูกามยาว ชั้น 5 ศาลากลาง จังหวัดพะเยา ทางส่วนคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดพะเยา,กลไกประสานงาน ศบท.ภาคเหนือ ภายใต้มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา และสบท. ได้ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะขึ้นเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาในกิจการโทรคมนาคมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน

รายละเอียดเพิ่มเติม..http://consumerpdf.blogspot.com/.

สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในการโทรคมนาคม เยี่ยมศูนย์คุ้มครองสิทธิจังหวัดพะเยา

คณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(คบท) และเจ้าหน้าที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท)เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. เข้าเยี่ยมเยือนศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2552 โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ พะเยา เจ้าหน้าที่ศูนย์จังหวัดในภคเหนือมีจังหวัดลำปาง เชียงราย พิจิตร เพชรบุรณ์ และกลไกภาคเหนือ เครือข่ายและอาสาสมัครของศูนย์พะเยาให้การต้อนรับ คบท. และสบท.....
รายละเอียดเพิ่มเติม
http://consumerpdf.blogspot.com/

ฟ้าผ่าข้อเท็จจริงที่ควรรู้


ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการปลดปล่อย ประจุไฟฟ้าในอากาศ ฟ้าผ่าที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่เป็นการปลดปล่อยประจุออกจากเมฆฝนฟ้าคะนองหรือที่นักอุตุนิยมวิทยา เรียกว่า"เมฆคิวมูโลนิมบัส" (Cumulonimbus)
เมฆฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นก้อนเมฆใหญ่มหึมา บริเวณฐานเมฆ (ขอบล่าง) สูงจากพื้นราว 2 กิโลเมตร ส่วนยอดเมฆ (ขอบบน) อาจสูงได้ถึง 20 กิโลเมตร ภายในก้อนเมฆมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนนำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า
"ฟ้าผ่า" มีอย่างน้อย 4 แบบหลัก ได้แก่
1) ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ ฟ้าผ่าแบบนี้เกิดเกิดมากที่สุด และทำให้เมฆเปล่งแสงกระพริบที่คนไทยเราเรียกว่า "ฟ้าแลบ" นั่นเอง
2) ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง
3) ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุลบออกจากก้อนเมฆ จึงเรียกว่า "ฟ้าผ่าแบบลบ" (Negative Lightning) ซึ่งเป็นฟ้าผ่าที่อันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งต่างๆที่อยู่บนพื้น โดยจะผ่าลงบริเวณ "ใต้เงา" ของเมฆฝนฟ้าคะนองเป็นหลัก
4) ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุบวกออกจากก้อนเมฆ จึงเรียกว่า "ฟ้าผ่าแบบบวก" (Positive Lightning) สามารผ่าได้ไกลจากก้อนเมฆได้ถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือ แม้ท้องฟ้าเหนือศรีษะของเราจะดูปลอดโปร่ง แต่เราอาจถูกฟ้าผ่า (แบบบวก) ได้หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ห่างไกลออกไปในระยะ 30 กิโลมตร อันเป็นที่มาของคำว่า "ฟ้าผ่ากลางวันแสกๆ" ซึ่งเป็นฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นโดยเราไม่ได้คาดคิดนั่นเอง
ฟ้าผ่ากับผลกระทบต่อ "ชีวิตคน"
ข้อมูลจาก นพ.อดิศีกดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอกดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่า ผู้ถูกฟ้าผ่าประมาณ 1/3 หรือร้อยละ 30 เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนที่รอดจะมีความพิการถาวรจากการถูกทำลายระบบประสาท เช่น อัมพาต ตาบอด หูหนวก เป็นต้น
ไฟฟ้าจากฟ้าผ่า มีแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 100 ล้านโวลต์ มีกระแสไฟฟ้าประมาณ 25-250 กิโลแอมแปร์ (KA) มีอุณหภูมิประมาณ 15,000 องศาเซลเซียส มีความเร็วประมาณ 1/10 ของความเร็วแสง สามารถวิ่งผ่านร่างกายด้วยเวลาเพียง 1/10,000 - 1/1,000 วินาที จึงส่งผลต่อการเต้นของหัวใจและการทำงานของระบบประสาท
สถิติความสูญเสียจากฟ้าผ่าในประเทศไทย ข้อมูลจากการนำเสนอข่าวประเด็นฟ้าผ่าในสื่อหนังสือพิมพ์ พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 - มิถุนายน 2552 มีผู้เสียชีวิต 39 คน บาดเจ็บ 16 คน


ข้อมูลจากhttp://consumerphichit.blogspot.com

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กลไกภาคเหนือ อบรมพัฒนาเวปไซด์ให้กับศูนย์คุ้มครองสิทธิระดับจังหวัด






กลไกภาคเหนือ จัดพัฒนาเว็บไซด์ให้กับเครือข่ายผู้บริโภค ภาคเหนือจากพื้นที่จ.เชียงใหม่ จ.พะเยา จ.ลำปาง จ.เชียงราย จ.เพชรบูรณ์และจ.พิจิตร วันที่ 8-10 มิถุนายน พ.ศ.2552 ณ สำนักบริการเทคโนโลยี่สารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีทีมจากกลไกภาคตะวันออก คุณปิยนุช โพธิ์แก้ว จากสบท. และทีมจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมาช่วยพัฒนาและฝึกสอนการทำเว็บไซด์ให้กับแต่ละจังหวัด ซึ่งจากนี้เป็นต้นไปแต่ละจังหวัดก็จะมีwww.เป็นของตัวเอง หากใครสนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ตามชื่อwww.ต่อไปนี้
จ.เชียงใหม่ http://www.consumercm.blogspo.com/
จ.เพชรบูรณ์ http://www.consumerpbb.blogspo.com/
จ.เชียงราย http://www.consumercr.blogspo.com/
กลไกภาคเหนือ http://www.consumernorth.blogspo.com/

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เครือข่ายคุ้มครองสิทธิจังหวัดเชียงราย ยกระดับฐานการทำงาน

เครือข่ายคู้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเชียงราย ยกระดับฐานการทำงานจากศูนย์ขยายและเตรียมความพร้อม เพื่อเป็นศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จังหวัดเชียงราย ในปี 52 นี้ โดยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2552 ณ ห้องประชุมของ มูลนิธิวายเอ็มซีเอจังหวัดเชียงราย ได้มีการประชุมของคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจำนวนกว่า 12 คน และองค์กรภาคีที่ทำเรื่องานสิทธิในจ.เชียงรายจำนวน 3 องค์กร รวมทั้งหมดกว่า 20 คน เพื่อพัฒนาแนวทางและแผนงานการทำงานด้านสิทธิผู้บริโภคซึ่งจะมีทั้งการสร้างความตระหนักเรื่องสิทธิของผู้บริโภค ความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียนและการคุ้มครองสิทธิอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยแผนงานดังกล่าวเน้นการทำงานเชิงรุกกับเครือข่ายในระดับอำเภอ การทำงานในด้านการรณรงค์และการรับเรื่องร้องเรียนผ่านสื่อวิทยุชุมชน
ดาวน์โหลดกำหนดการได้ http://www.mediafire.com/?sharekey=a1f0561e021873e0d6baebe61b361f7ce04e75f6e8ebb871